Taobao ต้อนรับวันลอยกระทงที่ใกล้มาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ประเพณีโบราณของไทย ที่มีคติความเชื่อมากมายหลายอย่าง อาทิ เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา บูชาพระพุทธเจ้า หรือสะเดาะเคราะห์
ในปัจจุบันประเพณีลอยกระทงมีการจัดงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ทั่วประเทศโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร พรั่งพร้อมไปด้วยกิจกรรมอันแสนครึกครื้น
ไม่ว่าจะเป็นการประกวดกระทงเล็กกระทงใหญ่ ประกวดนางนพมาศ และปล่อยโคมลอยขึ้นฟ้ายามค่ำคืน สวยงาม อลังการจนดังไกลไปถึงต่างแดน ยิ่งไปกว่านั้นเทศกาลลอยโคมไฟนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตามภูมิภาคต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจีนแผ่นดินใหญ่ก็มีเทศกาลลอยโคมแบบนี้เช่นกัน วันนี้เราไปทำความรู้จักเทศกาลลอยโคมทั้งในไทยและจีนกันดีกว่า ว่ามีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไรบ้าง
- ประเพณียี่เป็งหรือประเพณีเดือนยี่
ประเพณีเก่าแก่ของดินแดนล้านนา ที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรหริภุญชัยได้มีพิธีลอยโขมด จากการที่ชาวมอญได้อพยพมาจากกรุงหงสาวดี มีการจัดแต่งเครื่องสักการะใส่กระทง จุดธูปและเทียนแล้วลอยลงในแม่น้ำเพื่อไว้อาลัยและส่งความระลึกถึงให้กับญาติพี่น้องที่กรุงหงสาวดี นอกจากนี้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนายังมีความเชื่อว่าการลอยประทีปโคมไฟถือเป็นการบูชาพระรัตนตรัยและได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่
ในปัจจุบันจัดเป็นงานบุญใหญ่ประจำปี ผู้คนจะจัดเตรียมข้าวของสำหรับทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ถือศีล ฟังธรรมและจัดทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ใส่ของกินของใช้รวมกันในกระทงใหญ่เพื่อเป็นทานให้แก่คนยากคนจน และนำกระทงเล็กของตนเองไปลอยแม่น้ำ นอกจากนี้ยังมีการประดับประดาบ้านเรือนและถนนหนทางด้วยต้นอ้อย ต้นกล้วย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีบและห้อยโคมยี่เป็งแบบต่างๆ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ายามค่ำคืน เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยเชื่อว่าจะเป็นการลอยเคราะห์ไปกับโคมลอยนี้ด้วย
- เทศกาลเซี่ยหยวน
เป็นเทศกาลที่คนจีนให้ความสำคัญมาตั้งแต่โบราณกาลตรงกับวันที่ 15 เดือน 10 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันขอขมาและบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ 1 ใน 3 เทพเจ้าที่สำคัญตามความเชื่อในลัทธิเต๋า อันประกอบไปด้วย เทพเจ้าแห่งปฐพี เทพเจ้าแห่งฟ้าและเทพเจ้าแห่งสายน้ำ โดยชาวจีนจะไปที่ศาลประจำเมืองหรือวัดในลัทธิเต๋า เพื่อบูชาและไหว้เทพเจ้าแห่งสายน้ำ รวมทั้งเผากระดาษเงินกระดาษทองและนำสิ่งของใส่ถุงสีแดงและเขียนชื่อตนเองไว้ที่ถุงเพื่อเป็นการขอพรจากเทพเจ้า โดยนักบวชในลัทธิเต๋าจะเป็นผู้นำไปประกอบพิธีกรรม นอกจากนี้ชาวจีนยังนิยมการลอยโคมสู่ท้องฟ้าและลอยประทีปในน้ำ ตามคติความเชื่อที่คล้ายคนไทยคือลอยสิ่งไม่ดีออกไปและขอพรเทพเจ้า รวมทั้งปล่อยเต่าลงแม่น้ำเพื่อเป็นบุญกุศลอีกด้วย
- เทศกาลหยวนเซียว
ตรงกับวันที่ 15 เดือน 1 เป็นวันถือกำเนิดของเทพเจ้าแห่งฟ้า เชื่อว่าเป็นเทพที่บันดาลพร ความมั่งมีให้แก่มวลมนุษย์และเป็นเทศกาลโคมไฟของจีน ที่ชาวจีนจะออกมาเที่ยวชมโคมไฟ ทายปริศนาที่เขียนไว้ในโคมไฟ เล่นดอกไม้ไฟ จุดประทัด แห่สิงโตและรับประทานขนมบัวลอยหยวนเซียวกันอย่างคึกคัก นอกจากนี้ยังถือเป็นเทศกาลแห่งคู่รัก โดยหนุ่มสาวจะออกมาพบปะ และลอยโคมไฟขึ้นฟ้าร่วมกัน อันเป็นสัญญาณของความรักที่กำลังเบ่งบานนั่นเอง
นอกจากวันรื่นเริงแล้ว วันที่ 15 เดือน 7 ยังเป็นวันถือกำเนิดของเทพเจ้าแห่งปฐพี ที่เทพเจ้าจะอภัยโทษและอนุญาตให้วิญญาณกลับมารับส่วนบุญในโลกมนุษย์หรือที่เราเรียกกันว่า เทศกาลสารทจีน ในวันนี้จะมีการลอยประทีปลงในแม่น้ำเพื่อไว้อาลัยและนำทางดวงวิญญาณให้กลับสู่ที่ของตนเอง ทั้งคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนต่างก็ยังถือปฏิบัติกันมาจวบจนทุกวันนี้
นอกจากนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างลาว เมียนมาร์ อินเดีย หรือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ ก็จะมีการจัดประเพณีคล้าย ๆ กับลอยกระทงในบ้านเรา แต่อาจแตกต่างกันไปตามความเชื่อและค่านิยมของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการปล่อยโคมลอยและประทีปไฟอันแสนงดงามตระการตา และปัจจุบันมีโคมลอยดีไซน์เป็นรูปต่างๆ มากมาย อาทิ โคมลอยจีนจาก Taobao ที่ออกแบบเป็นรูปหัวใจ รูปสัตว์ และลวดลายต่าง ๆ คลิกเข้าไปชมสินค้าผ่านเว็บไซต์ Gettaobao ได้ที่หมวดหมู่สินค้า หรือนำเข้าสินค้าจากจีนด้วยตนเองง่าย ๆ ได้ที่ Thaitopcargo เตรียมปล่อยโคมในวันลอยกระทงที่ใกล้มาถึง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต