สั่งสินค้าจากจีน ภาษี…ที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ควรรู้

สั่งสินค้าจากจีน ภาษี gettaobao สั่งสินค้าจากจีน สั่งสินค้าจากจีน ภาษี…ที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ควรรู้                                                                                                gettaobao 768x402

สั่งสินค้าจากจีน อาชีพขายของออนไลน์ เป็นอาชีพเสริมที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  เนื่องจากเริ่มต้นทำได้ทันที และไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกับการเปิดร้านค้าทั่วไป

เพียงใช้พื้นที่ Social Media ในการขายหรือฝากขายกับร้านใน Market Place ก็สามารถเริ่มขายได้ทันที มีเพียงสิ่งเดียวที่คุณต้องลงทุนก็คือ ‘สินค้า’ ซึ่งควรเลือกสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด และการ สั่งสินค้าจากจีน เป็นตัวเลือกหนึ่ง ทั้งเรื่องของคุณภาพและราคา

ทว่า อาชีพพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ในยุคนี้ จำเป็นต้องยื่นภาษีร้านค้าออนไลน์หรือที่เรียกว่า ‘ภาษี E-Payment’ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา โดยประเด็นสำคัญของภาษี E-Payment คือ กำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยมีเงื่อนไข คือ

สั่งสินค้าจากจีน ภาษี gettaobao1 สั่งสินค้าจากจีน สั่งสินค้าจากจีน ภาษี…ที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ควรรู้                                                               gettaobao1

โดยกรมสรรพากรจะได้รับข้อมูล คือเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-สกุล เลขที่บัญชีเงินฝาก จำนวนครั้งของการฝาก จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและดำเนินการเก็บภาษีได้จำนวนถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้มีการเปิดร้านค้าออนไลน์ หรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท ก็จะถือว่าเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ จัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และมีช่วงเวลาที่พ่อค้าและแม่ค้าต้องยื่นภาษีอยู่ด้วยกัน 2 ช่วง คือ

-ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม คือ การสรุปรายได้ทั้งหมดในช่วงปีที่ผ่านมา

-ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน คือ การสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีในภาษีแรกที่ผ่านมา ทั้งนี้ค่าลดหย่อนบางรายการ จะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วยเช่นกัน เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000 เป็นต้น

เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นพนักงานประจำและทำอาชีพเสริมโดยขายของออนไลน์ไปด้วย เมื่อถึงเวลายื่นภาษี คุณต้องยื่น 2 ช่วง คือช่วงกลางปี ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 โดยยื่นเฉพาะรายได้ขายของออนไลน์ ส่วนตอนสิ้นปี ยื่นรายได้จากงานประจำและขายของออนไลน์ รวมกันด้วยแบบ ภ.ง.ด.90

แล้วเราจะคำนวณภาษีได้อย่างไร?

จริงๆ แล้ว ร้านค้าออนไลน์ สามารถคำนวณภาษีได้ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (ในกรณีจดทะเบียนเป็นบริษัท)

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ร้านค้าออนไลน์จะไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ เราจึงขอแนะนำการคำนวณภาษีแบบบุคคลธรรมดา โดยมีสูตร คือ (รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย  สิ่งสำคัญเลยคือ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ต่อไปคือ ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ มีกี่แบบ

1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ ที่ซื้อมาเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ผลิตเอง

2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ผลิตสินค้าเอง ในกรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเยอะมาก

3.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษีเพียง 0.5% ถ้ามีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท

แล้วการลดหย่อนภาษีล่ะ คืออะไร?

การลดหย่อนภาษี คือ รายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทางสรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายการได้ เพื่อให้เราสามารถคำนวณ ‘รายได้สุทธิ’ ออกมาและนำไปเปรียบเทียบการคิดภาษีกับตารางอัตราภาษี สิ่งที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยๆ นั่นคือ การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได  มีสูตรในการคำนวณ คือ (รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย ผลลัพธ์ที่ได้คือ ‘รายได้สุทธิ’ ซึ่งเราจะนำมาเทียบกับตารางอัตราภาษี เพื่อดูว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ (ความหมายของ ‘รายได้สุทธิ’ คือ เป็นรายได้ที่ได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว)

สั่งสินค้าจากจีน ภาษี gettaobao2 สั่งสินค้าจากจีน สั่งสินค้าจากจีน ภาษี…ที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ควรรู้                                                               gettaobao2

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่ใช้คำนวณภาษี หรือที่เรียกว่า RD Smart Tax และ iTAX Pro ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดทั้งบน IOS และ Android แต่หากกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้แอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ก็สามารถคำนวณภาษีจากเว็บไซต์ของธนาคารที่เปิดรองรับพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย คลิก ที่นี่ และเครื่องมือวางแผนทางการเงินของธนาคารกรุงศรี คลิก ที่นี่

*ในกรณีที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อข้างต้น ให้ทำการยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เนื่องจากปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือน

– ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี เรียกเก็บที่ 7%

สำหรับพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ ที่มียอดโอนเพื่อซื้อสินค้าไม่ถึง 3,000 ครั้ง/ปี หรือหากมียอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาท คุณไม่จำเป็นต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษี E-Payment  เพียงแค่คุณยื่นภาษีแสดงรายได้ของตัวเอง  ก็ปลอดภัย หายห่วง ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังแน่นอน

ฉะนั้นแล้ว พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ที่ชอบสั่งสินค้าจากจีน และมีการลงทุนลงแรงกับเรื่องสินค้า ควรศึกษาเรื่องของภาษีออนไลน์เอาไว้ เพราะได้มีการออกกฎหมายที่ใช้กันแล้ว นอกจากนี้ ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับการเงินของคุณเอาไว้ และเก็บเอกสารทุกอย่างให้ครบ แต่ถ้าอยากสั่งสินค้าจากจีนในปริมาณมากๆ จาก Taobao Tmall หรือ 1668 สามารถดูวิธีการสั่งซื้อสินค้าจากจีนได้ที่ Gettaobao